เมื่อวันพุธที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา สมเด็จพระราชินีอลิซเบทที่ 2 ทรงเสด็จออกจากพระราชวังบักกิ้งแฮมเพื่อไปทำพิธีเปิดประชุมรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร โดยรถเทียมม้าพระที่นั่งคันใหม่เอี่ยม ที่นำมาซึ่งความภาคภูมิใจของชาวออสเตรเลีย โดยเฉพาะนายจิม เฟรกลิงตัง จากนครซิดนีย์ผู้เป็นผู้นำในการสร้างรถเทียมม้าคันนี้
นายแฟรกลิงตันวัย 64 ปี เคยมีประสบการณ์ในการซ่อมและฝึกการทำรถม้าในสมัยเด็ก พอเข้าวัยหนุ่มเขาข้ามน้ำข้ามทะเลไปทำงานเป็นคนดูแลม้าที่พระราชวังบัคกิ้งแฮมอยู่พักหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาซิดนีย์
นายเฟรกลิงตัน เริ่มโครงการสร้างรถเทียมม้าคันนี้ มาตั้งแต่เสร็จสิ้นกีฬาโอลิมปิกปี 2000 ที่ซิดนีย์เป็นเจ้าภาพ โดยหวังจะนำถวายเนื่องในวันเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ 80 พรรษาในปี 2006 แต่ขาดการสนับสนุนทางการเงิน จึงเลื่อนไปฉลองวันครองราชครบ 60 ปี หรือ “พัชราภิเษก “(Diamond Jubilee ) ในปี 2012 แต่ต้องผ่านอุปสรรคต่าง ๆ นานา มาสำเร็จเอาในต้นปี 2014 นี้เอง
นายเฟรกลิงตันมาจากการใช้บ้านของเขาในย่านแมนลี่เป็นสถานที่สร้างรถม้าประวัติศาสตร์ครั้งนี้ โดยมีผู้คนกว่า 50 คนเข้าร่วมในโครงการนี้
หนึ่งในจำนวนนี้คือนายเทอร์รี เซนตี้ วัย 44 ปีผู้มาจากครอบครัวเชี่ยวชาญการแข่งรถทางตรง หรือ drag-racing ที่มีชื่อเสียงของซิดนีย์ รับอาสาเป็นผู้ซึ่งคิดค้นซีล้อ, กรอบล้อ และตัวล้อโดยใช้โรงงานเก่าของครอบครัวที่วินด์เซอร์เป็นที่คิดค้นและผลิต
เมื่อแรกเสนอโครงการ รัฐบาลของนายจอห์น เฮาเวิร์ดเห็นดีด้วย จึงรับปากช่วยเหลือในการโครงการ 250,000 เหรียญ แต่กว่างบประมาณจะออกมาก็ถูกพรรคฝ่ายค้านโจมตีเสียจนสะบักสะบอม
ในปี 2012 นายนายนายเฟรกลิงตัน ทำหนังสือถึงนางจูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรี ขอเงินจำนวน 5 ล้านเหรียญ เพื่อการสร้างและตกแต่งขั้นสุดท้าย รวมค่าขนส่งไปยังกรุงลอนดอน คำขอนี้ได้รับการปฏิเสธทันที
แต่ในที่สุดโครงการนี้ได้รับบริจาคจากภาคส่วนของเอกชน โดยเงินก้อนใหญ่มาจาก the Royal Collection Trust จนกระทั่งเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สำนักพระราชวังบักกิ้งแฮมมีหนังสือตอบกลับมาว่ารถเทียมม้าน้ำหนัก 3 ตันได้เดินทางไปถึงกรุงลอนดอนเรียบร้อยแล้ว
รถม้าคันใหม่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ผสมผสานกับวัสดุที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์บางชิ้นมีอายุกว่า 1,000 ปี มาประกอบกันขึ้น เป็นต้นว่า
หมายเลข ๑ ยอดมงกุฎ ทำจากไม้โอ๊คจากเรือรบหลวงวิกตอรี่ สมัยลอร์ดเนลสันเปป็นผู้บังคับการเรือ
หมายเลข ๒ มือจับเปิดปิดประตูทำจากนิวซีแลนด์ แผ่นทองแต่ละแผ่นประกอบด้วยพลอยไพลินจำนวน 130 เม็ด และเพชร 24 เม็ด ที่รวมถึงเพชรสองเม็ดของดวงตราสิงโตที่เป็นส่วนมือจับ
หมายเลข ๓.แผ่นประตูด้านในทำจากไม้จากเลื่อนหิมะของกัปตันโรเบิร์ท สก๊อตที่ใช้ในการสำรวจทวีปอันตาร์กติก, ไม้จากต้นแอปเปิลของเซอร์ไอแซ็ค นิวตัน ต้นที่ก่อให้เกิดทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก, ไม้จากกระไดของเซอร์เอ็ดมัน ฮิลลารี่ที่ใช้ในการพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นรายแรกของโลก, รวมถึงกระดุมเสื้อจากสงครามกัลลิโปรี, น็อต และลูกกระสุนปืนโบราณ (เม็ดกลม ๆ) จากสงครามเวอร์เตอร์ลู, เศษโลหะจากดัมบัสเตอร์, เศษไม้จากเรือยุในคสัมฤทธิ์, ไม้จากเรือรบแมรี โรสในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 เป็นต้น
หมายเลข ๔ สีของลำตัวรถม้าทำการพ่นและขัดละเอียดจำนวน 10 รอบ เพื่อให้สีขั้นสุดท้ายมองดูใสราวกับกระจก
หมายเลข ๕ เดอะเพิร์ท หรือคอนกลางรถทำจากไม่สปอตต์กัมปะกบเข้าด้วยกัน 22 ชั้น ทำการงอด้วยเมือให้โค้งเป็น “คอห่าน” หรือ “goose-neck”
หมายเลข 6.ตัวล้อ แม้จะเป็นตัวไม้แต่ได้รับการคิดค้นและออกแบบมาอย่างดีด้วยการรองรับด้วยอลุมิเนียมสำหรับผลิต เครื่องบินที่รับประกันว่าสมเด็จพระราชินีจะทรงรู้สึกกระเทือนน้อยกว่าพระราชรถเทียมม้าที่ทรงเคยใช้เสด็จมาก่อน
ถ้าท่านไปกรุงลอนดอน อย่าลืมไปชมรถคันนี้ได้ที่พิพิธภัณฑ์รถโบราณ พระราชวังบัคกิ้งแฮมนะครับ